Food Grade (ฟู้ดเกรด) คืออะไร?

วัสดุ Food Grade (ฟู้ดเกรด) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการใส่ บรรจุอาหาร หรือจัดเก็บอาหาร หรือจัดเก็บอาหาร ที่มีความปลอดภัยต่อทั้งอาหาร และผู้บริโภค โดยไม่มีสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และต้องใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสมกับประเภทของอาหารนั้น ๆ ด้วย เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร สำหรับไมโครเวฟ ที่สามารถใช้ร่วมกับความร้อนได้ โดยไม่ทำให้เกิดอันตราย หรือส่งผลต่ออาหาร
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ Food Grade ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถย่อยสลายได้ จึงทำให้ในปัจจุบันคนนิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์อาหารแบบ Food Grade มากขึ้นเพราะนอกจากจะปลอดภัยต่ออาหารและผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยรักโลกและสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีอีกด้วย
รู้ได้อย่างไรว่า บรรจุภัณฑ์นี้ เป็น Food Grade
บรรจุภัณฑ์ Food Grade (ฟู้ดเกรด) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับตรามาตรฐานรับรองว่า สามารถใช้ร่วมกับอาหารชนิดดังกล่าวได้ สามารถสังเกตที่ ก้นขวด หรือส่วนท้ายของบรรจุภัณฑ์ หากเป็นบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นพลาสติกขึ้นรูป หรือพลาสติกแข็ง มักจะแสดงอยู่ด้านล่างของภาชนะบรรจุภัณฑ์ แสดงเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ สามารถสังเกตุดูจากตราสัญลักษณ์ ที่แสดงตามรูปภาพด้านบน ซึ่งมักจะอยู่ด้านล่างของภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ ดังนี้
1. PP : POLYPROPYLENE
พอลิโพรไพลีน (polypropylene) พลาสติกที่ใช้ผลิต บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร มีความแข็ง และเหนียว คงรูปดี ทนต่อการหักงอได้ ทนต่อความร้อน และสารเคมี มีความใส ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี แต่ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ และไม่ทนต่อความเย็น มักใช้ในการผลิตถุงทนร้อน ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ในครัวเรือน เช่น จาม ชาม ถ้วย
2. HDPE : High Density Polyethylene
พลาสติกพอลิเอทิลีน (polyethylene, PE) นิยมนำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ มีความแข็งแรง มีความใสไม่มากนัก แสงผ่านได้น้อย สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์ ที่เป็นกรด และด่าง เพราะไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีความเหนียว ยืดหยุ่น ทนทานต่อการแตก หรือหักงอได้ดี ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ จึงไม่เหมาะสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ ที่ใช้การอัดอากาศ และพลาสติกชนิดนี้ ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้สูงมาก ทนความร้อนได้เล็กน้อย
3. LDPE : Low density polyethylene
พลาสติกพอลิเอทิลีน (polyethylene) หรือถุงเย็น พลาสติกที่ไม่ทนความร้อน นิ่ม ยืดหยุ่นได้ดี ทนต่อการทิ่มทะลุ และการฉีกขาด เหนียว ไม่กรอบแตกง่าย แต่ความแข็ง และทนทานน้อยกว่า HDPE โปร่งแสง มีความใสน้อยกว่า PP แต่ใสกว่า HDPE ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี ทนต่อกรด และด่าง ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี ออกซิเจน และอากาศซึมผ่านได้ ไขมันซึมผ่านได้ นิยมนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร เช่น ถุงเย็น ฟิล์มหด และฟิล์มยืด ขวดน้ำ ฝาขวด ใช้ผลิตแผ่นฟิล์ม ที่ใช้รวมกับวัสดุอื่น เป็นวัสดุประสาน (laminate) เพื่อปิดผนึกด้วยความร้อน และใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อ (aseptic packaging)
4. PET : Polyethylene Terephthalate
เป็นสารพอลิเมอร์ สารตั้งต้น ที่ใช้ในการผลิต PET ได้จากอุตสาหกรรมน้ำมัน ทั้งนี้ ความบริสุทธิ์ของสารตั้งต้น เป็นสิ่งสำคัญมาก และมีผลต่อคุณภาพของ PET โดยเฉพาะ เมื่อใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ สำหรับบรรจุอาหาร มีความเหนียว ทนทาน มีความยืดหยุ่นต่อแรงกระทบกระแทก จึงไม่แตกเมื่อถูกแรงกดดัน ในเบื้องต้น PET ได้รับการคิดค้นขึ้นมา เพื่อการบรรจุน้ำอัดลม โดยเฉพาะสมบัติเด่น คือ ความใส แวววับ เป็นประกาย ได้รับความนิยมในการบรรจุน้ำมันพืช และน้ำดื่ม และ PET ในรูปแบบฟิล์ม มีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้เป็นอย่างดี จึงมีการนำไปเคลือบ เพื่อทำเป็นซองสำหรับบรรจุอาหาร ที่มีความไวต่อก๊าซ เช่น ขนมขบเคี้ยว นอกจากนี้ ยังนิยมใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ สำหรับอาหารแช่แข็ง บรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ อาหารปรุงสุก สำหรับอุ่นแบบต้มทั้งถุง
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ วัสดุ Food Grade ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้หลาย ๆ คน หายสงสัยกันแล้วใช่ไหม อย่างไรก็ตาม หากจจะเลือกมาใช้งานกับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง อย่าลืม เลือกให้เหมาะสมด้วยนะจ๊ะ สำหรับใครที่อยากลดการใช้พลาสติก ลดปริมาณขยะ และต้องการความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร แก้วน้ำไม้ยางพารา เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ทำจากไม้คอร์กคุณภาพดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
สามารถอ่านบทความดี ๆ ได้ที่นี่
จานรองแก้ว.com เป็นร้านขายที่รองแก้ว จานรองแก้ว อันดับ 1 ของประเทศไทย สินค้าของเราผลิตจากไม้คอร์ก ไม้ยางแท้ 100% มีสินค้าให้เลือกหลายหลายรูปแบบ บริการออกแบบฟรี! สามารถสั่งซื้อ และสอบถามได้ที่ จานรองแก้ว.com