เชื่อว่า หลาย ๆ คน คงต้องรู้จักกับ บาร์โค้ด กันอยู่แล้วแน่นอน ที่มักจะติดตามสินค้าแทบทุกชนิด แล้วบาร์โค้ด คืออะไร? ใช้ทำอะไรได้บ้าง? ตามไปอ่านในบทความนี้กันเลย
บาร์โค้ด (Barcode) คือ?
เลขหมายประจำตัวสินค้า ใช้แทนด้วยแท่งบาร์ขาว-ดำ เรียงเข้าด้วยกัน และประกอบด้วยตัวเลข 8-13 หลัก สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ โดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสง นิยมใชักับสินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกชนิด และสินค้าสำเร็จรูปต่าง ๆ ด้วย
ลักษณะบาร์โค้ด
บาร์โค้ดจะต้องมีความคมชัดของเส้นแต่ละเส้น ไม่ขาดหาย ขนาดของบาร์โค้ดจะมีขนาดมาตรฐาน ของแต่ละระบบอยู่แล้ว สามารถย่อลงได้มากสุด 20% พื้นที่ด้านข้างของตัวบาร์โค้ด (Quiet Zone) จะต้องมีเนื้อที่ 10 เท่าของแท่งรหัสที่เล็กที่สุด หรือมากกว่า 3.6 มิลลิเมตร ไม่อย่างนั้น จะอ่านไม่ออก
การออกเลขหมายให้กับสินค้าแต่ละตัว จะช่วยให้การติดต่อกันระหว่างผู้ค้า (ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีก) สามารถทำงานได้ราบรื่นขึ้น เป็นเครื่องชี้บอก ความแตกต่างของสินค้าชนิดนั้น กับสินค้าอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ขนาด สี จำนวนบรรจุ จะมีเลขหมายประจำตัวสินค้าต่างกัน
ยกตัวอย่าง ไอศกรีมรสวนิลา จะมีเลขหมายประจำตัวคนละเลขหมายต่างจากไอศกรีมรสช็อกโกแลต หรือในกรณีกล่องใหญ่ที่บรรจุถ้วย 12 ใบ จะมีเลขหมายประจำตัวแตกต่างจากถ้วย 1 ใบนั่นเอง
บาร์โค้ดใช้กับธุรกิจแบบไหนได้บ้าง
- ด้านผู้ผลิต เลขหมายประจำตัวสินค้าก่อให้เกิดวิวัฒนาการด้านบรรจุภัณฑ์ ตามหลักการ “หีบห่อก่อผลกำไรงาม” เลขหมายประจำตัวของผู้ผลิตแต่ละราย จะมีส่วนช่วยบอกถึงคุณภาพของสินค้า แหล่งติดต่อของผู้ผลิต โอกาสทางการตลาดของผู้ผลิต จะยิ่งเปิดกว้างไปได้อีก
- ด้านผู้ค้าส่ง หรือผู้นำเข้าในต่างประเทศ มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต หรือแหล่งผลิต ที่จะสามารถจัดหาสินค้าได้สะดวกตลอดจนมีโอกาสซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ด้านระบบข้อมูล เพื่อการบริหารงาน โดยเฉพาะข้อมูลด้านการขาย และสินค้าคงคลัง
- ด้านระบบการค้าปลีก โดยเฉพาะ การค้าปลีกขนาดใหญ่แบบ Supermarket หรือ Mass market ระบบเลขหมายประจำตัวสินค้า และสัญลักษณ์รหัสแท่ง จะช่วยให้การคิดเงิน การเก็บเงินของพนักงานถูกต้อง รวดเร็วมาก จึงสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังไม่ต้องติดป้ายบอกราคาสินค้า ซึ่งมีเป็นจำนวนมากบนสินค้าแต่ละชิ้น ทำให้ลดปริมาณงานลง และสะดวกต่อการปรับราคาขาย
ประโยชน์ของบาร์โค้ด
1. ลดขั้นตอน ประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อ-ขาย สินค้าจะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง
2. ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลังคอมพิวเตอร์ ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด
3. ยกระดับมาตรฐานสินค้า การระบุแหล่งผลิตของประเทศแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพ เพื่อรักษาภาพพจน์ของสินค้า และสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องสัญลักษณ์ รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า
4. สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ รหัสแท่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่มีคุณภาพดี เชื่อถือได้ การมีรหัสประจำตัวของแต่ละประเทศ ทำให้ผู้ที่สนใจซื้อสินค้า สามารถทราบถึงแหล่งผลิต และติดต่อซื้อ-ขายกันได้สะดวกโดยตรง เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก
5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร ข้อมูลจากระบบรหัสแท่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตัดสินใจวางแผน และบริหารงานด้านการผลิต การจัดซื้อ และการตลาดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน บาร์โค้ด ที่นิยมใช้ มีอะไรบ้าง?
รหัสบาร์โค้ดมาตรฐาน mujนิยมใช้กันทั่วโลก มีประมาณ 11 ระบบ ดังนี้
1. UPC [Uniform Product Code] ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
- 1.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก UPC-E ใช้กับสินค้าที่มีข้อมูลน้อย
- 1.2 แบบมาตรฐานมี 12 หลัก หรือเรียก UPC-A ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป
- 1.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก UPC-A+2 ในกรณีที่ UPC-A เก็บข้อมูลไม่พอ
- 1.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก UPC-A+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น
2. EAN [European Article Number] เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.- 2519 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
- 2.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก EAN-8 ใช้กับธุรกิจเล็ก มีข้อมูลไม่มาก
- 2.2 แบบมาตรฐานมี 13 หลัก หรือเรียก EAN-13
- 2.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก EAN-13+12 เพื่อเพิ่มข้อมูล ถ้า EAN-13 บรรจุข้อมูลไม่หมด
- 2.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก EAN-13+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น
3. CODE 39 เริ่มใช้ในปี พ.ศ.-2517 ในธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นบาร์โค้ดระบบแรก ที่ใช้รวมกับตัวอักษรได้ เก็บข้อมูลได้มาก
4. INTERLEAVE 1 of 5 หรือเรียกว่า ITF เป็นบาร์โค้ดตัวใหญ่ใช้กับหีบบรรจุสินค้า หรือเรียก Cass Code
5. CODABAR ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้กับธุรกิจเวชภัณฑ์ ในปี พ.ศ.-2515
6. CODE 128 ได้ถูกพัฒนาขึ้นและยอมรับว่าได้ใช้เป็นทางการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2524 นิยมใช้ในวงการดีไซเนอร์และแฟชั่น ปัจจุบันกำลังเริ่มนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา
7. CODE 93 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.- 2525 ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม
8. CODE 49 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยพัฒนาจาก CODE 39 ให้บรรจุข้อมูลได้มากขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม
9. CODE 16k เหมาะสำหรับใช้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เล็กมาก มีพื้นที่ในการใสบาร์โค้ดน้อย เช่น อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องไฟฟ้า
10. ISSN / ISBN [International Standard Book Number] ใช้กับหนังสือ และนิตยสาร
11. CODE 93 หรือ Shipping Container Code เป็นระบบใหม่ โดยการร่วมมือระหว่าง EAN ของยุโรป และ UCC ของสหรัฐอเมริกา โดยเอาระบบ EAN มาใช้ร่วมกับ CODE 128 เพื่อบอกรายละเอียดของสินค้ามากขึ้น เช่น วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วันที่สั่งซื้อ มีกี่สี กี่ขนาด เป็นต้น
จบไปแล้วกับ บาร์โค้ด ที่เรานำมาฝากกัน เรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยในการทำงานในธุรกิจ บอกรายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกิจ สำหรับผู้ผลิต ผู้ค้าคนไหน ต้องการทำบาร์โค้ดผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ที่เจ้าหน้าที่งาน Barcode & EDI สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ www.gs1th.org ได้เลย
อ่านบทความดี ๆ ที่น่าสนใจได้ ที่นี่
หากสนใจ ที่รองแก้วไม้ก๊อก มีคุณสมบัติพิเศษ คือ น้ำหนักเบาใช้งานทนทาน และสามารถป้องกันความร้อนได้ดี นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันการไหลซึมของน้ำได้ สามารถสั่งซื้อ และสอบถามได้ที่ จานรองแก้ว.com
อ้างอิงข้อมูลจาก labelone.co.th