หลาย ๆ คน เคยได้ยินคำว่า CSR กันมาบ้างแล้ว ซึ่งในปัจจุบันผู้คนนั้นให้ความสำคัญกับบริษัทที่เล็งเห็นถึงปัญหาของสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลาย ๆ องค์กร ได้มีการทำกิจกรรม CSR เพื่อสร้างเสริมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมกันมากขึ้น ในบทความนี้ จะพาไปรู้จักกับ กิจกรรม CSR คือ อะไร? มีความสำคัญ มีประโยชน์อย่างไร? และสามารถทำได้อย่างไรบ้าง?
CSR คือ อะไร?
Corporate Social Responsibility หรือ CSR คือ การจัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อให้ความสำคัญต่อสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีในมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด แยกแต่ละคำ ได้ดังนี้
- Corporate คือ การจัดกิจกรรม ที่ไม่แสวงหาผลกำไร
- Social คือ สังคม กลุ่มสังคม อาจเป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า ต้องการพัฒนาสังคมไหน
- Responsibility คือ การร่วมรับผิดชอบ ทั้งด้านบวก ด้านลบ ต่อการทำธุรกิจ จนมาถึง การทำกิจกรรม เพื่อสร้างสรรค์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ประเภทของ CSR
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร มีอยู่ 4 ประเภทหลัก คือ
1. ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
โดยอาจจะสนับสนุนองค์กรระดับท้องถิ่น หรือระดับประเทศ ผ่านการบริจาค หรือจัดงานรณรงค์ เพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กร เป็นกระบอกเสียง เพื่อให้คนหันมาเห็นความสำคัญของปัญหา หรือเข้ามาช่วยเหลือ บางองค์กร อาจส่งเสริม เชิญชวนให้พนักงานบริจาค เพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ เข่น ด้านการศึกษา การสร้างรายได้ หรือด้านสุขภาพ เป็นต้น
2. ความรับผิดชอบทางจริยธรรม
ความรับผิดชอบทางจริยธรรมถือเป็นสิ่งสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ยึดมั่นในการดำเนินการอย่างยุติธรรมและมีจริยธรรม บริษัทมักกำหนดมาตรฐานของตนเอง แม้แรงผลักดันจากภายนอกหรือความต้องการของลูกค้าอาจส่งผลต่อการกำหนดเป้าหมายทางจริยธรรม เช่น
- การปฏิบัติต่อลูกค้าทุกประเภทอย่างยุติธรรม ไม่คำนึงถึงอายุ เชื้อชาติ วัฒนธรรม หรือรสนิยมทางเพศ
- การปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนในเชิงบวก รวมถึงการจ่ายค่าตอบแทน และผลประโยชน์มาตรฐานขั้นต่ำของการจ้างงาน รวมทั้ง การพิจารณา การจ้างงาน ที่ยุติธรรม สำหรับบุคคลทุกคน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างส่วนบุคคล
- การกระจาย การใช้บริการจากซัพพลายเออร์ ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ เพศ หรือสถานะทางสังคม ที่แตกต่างกัน
- การเปิดเผยขั้นตอน การดำเนินงาน รวมถึงปัญหา ในการดำเนินกิจการอย่างซื่อสัตย์ ต่อนักลงทุน
3. ความรับผิดชอบต่อสังคม
การตั้งทีมงานจัด กิจกรรม CSR ด้านความรับผิดต่อสังคมขึ้นมา เพื่อให้องค์กร สามารถช่วยเหลือกลับคืนสู่สังคม เช่น ให้พนักงานร่วมทำการกุศล หรืออาจไปร่วมกับพันธมิตร ภายนอกองค์กร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม การใส่ใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงหันมาสนับสนุนแบรนด์ หรือธุรกิจที่ทำเช่นเดียวกัน
4. การพัฒนา ส่งมอบผลิตภัณฑ์ บริการ ตามกำลังซื้อของคนในระดับฐานราก
การใช้กระบวนการทางธุรกิจในการผลิต จำหน่ายสินค้า บริการสู่ตลาด ในราคาที่ไม่แพง เหมาะกับกำลังซื้อของผู้บริโภค ในระดับฐานราก ให้สามารถเข้าถึงสินค้า และบริการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
เริ่มทำ CSR ได้อย่างไร?
- ต้องพิจารณาว่า กิจกรรมนั้น ทำแล้วส่งผลต่อผู้อื่น สิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศโดยรวมหรือไม่ การทำกิจกรรม CSR เป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานนั้น ไม่ว่าจะดำเนินการตามข้อกฎหมายกำหนด หรือเป็นการบรรเทาผลกระทบนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้
- สังคม ที่อยู่ในคำว่า “Corporate Social Responsibility” คือ การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม กับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรก่อน และต้องมีความรับผิดชอบ ในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ผลตอบแทนให้ตรงต่อเวลา การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความปลอดภัยภายในองค์กร
- ผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่องค์กร ต้องรับผิดชอบ ดำเนินการจัดวางระบบการบริหาร ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีโครงสร้าง และกลไกการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการเสริมสร้างวัฒนธรรม ค่านิยมองค์กร และทัศนคติของบุคลากร ที่เอื้อต่อการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นรากฐาน ให้เกิดการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร
ประโยชน์ของการทำ CSR
กิจกรรม CSR สามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ระหว่างพนักงาน และองค์กร เพิ่มขวัญกำลังใจ และช่วยให้พนักงาน นายจ้าง รู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น เช่น
- เพิ่มการรับรู้แบรนด์ หรือ brand recognition เป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
- การมีส่วนร่วมของพนักงาน สามารถส่งเสริมการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานมากขึ้น ช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงาน พนักงานที่ไม่พอใจ และค่าใช้จ่ายทั้งหมดของพนักงานใหม่
- ลดความเสี่ยงของผลกระทบ จากการดำเนินกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มพนักงาน การละเลยทรัพยากรธรรมชาติ หรือการใช้เงินทุนของบริษัทอย่างผิดจรรยาบรรณ เป็นต้น
- นักลงทุนสัมพันธ์ การบังคับใช้กลยุทธ์ CSR มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในทางบวกต่อความรู้สึกของนักลงทุน ที่มีต่อองค์กร และมุมมองที่พวกเขาเห็นคุณค่าของบริษัท
หากสนใจ ที่รองแก้วไม้ก๊อก มีคุณสมบัติพิเศษ คือ น้ำหนักเบาใช้งานทนทาน และสามารถป้องกันความร้อนได้ดี นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันการไหลซึมของน้ำได้ สามารถสั่งซื้อ และสอบถามได้ที่ จานรองแก้ว.com
อ้างอิงข้อมูลจาก: popticles.com, sms2pro.com, www.dashmv.com