หลาย ๆ คน ที่เริ่มทำธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ในครอบครัว หรือธุรกิจบริษัท เมื่อเปิดบริษัทของตัวเองแล้ว การจดทะเบียนบริษัท เป็นสิ่งสำคัญที่เลี่ยงไม่ได้ บทความนี้ เราจะมาแชร์ ขั้นตอนการ จดทะเบียนบริษัท ที่ทำตามไม่ยาก จะทำได้อย่างไรนั้น ไปดูกันเลย
7 ขั้นตอนการ จดทะเบียนบริษัท
1) ตั้งชื่อบริษัท
ก่อนทำการจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีชื่อบริษัทขึ้นมาก่อน โดยชื่อเหล่านั้นต้องไม่ซ้ำ หรือคล้ายกับบริษัทอื่น ๆ ที่จดทะเบียนไปแล้ว การคิดชื่อ เพื่อใช้ในการจดทะเบียน เราสามารถยื่นจองได้สูงสุดถึง 3 ชื่อ และจะได้รับการพิจารณาจากชื่อแรก หากชื่อแรกซ้ำ หรือไม่ผ่านเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง นายทะเบียน จะพิจารณาชื่อในลำดับถัดไปแทนนั่นเอง
ส่วนการยื่นจองชื่อ เพื่อจดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ 2 แบบ คือ
- ยื่นด้วยตนเองต่อนายทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่เราอาศัยอยู่ หรือหากเราอยู่ต่างจังหวัด สามารถยื่นได้ที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด
- จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรอกข้อมูลที่ เว็บไซต์ www.dbd.go.th
2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่มีขึ้น เพื่อใช้สำหรับแสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท ต้องมีการระบุที่อยู่ วัตถุประสงค์ จำนวนหุ้น และข้อมูลของผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คน รวมถึงขึ้นต้นว่า “บริษัท” และลงท้ายด้วยคำว่า “จำกัด” ในการยื่นหนังสือบริคณห์สนธินั้น ต้องยื่นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่นายทะเบียนแจ้งผลการรับรองชื่อบริษัท
3. จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัท
ผู้ถือหุ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้งเท่านั้น โดยทุกคน ต้องถือคนละ 1 หุ้น หรือมากกว่า จากนั้น เมื่อทำการขายหุ้นบริษัทจนครบแล้ว จะต้องออกหนังสือ เพื่อทำการนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยกำหนดการประชุม จะจัดหลังออกหนังสืออย่างน้อย 7 วัน
4. จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัท
ในวาระการประชุม ควรประกอบด้วย สาระสำคัญ คือ การตั้งระเบียบข้อบังคับของบริษัท การเลือกตั้งคณะกรรมการบริษัท และอำนาจของคณะกรรมการ การเลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อทำการตรวจสอบ และรับรองงบการเงิน ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชี ที่คัดเลือกมารับหน้าที่ จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น การรับรองสัญญา ที่ผู้ก่อตั้งทำขึ้น ก่อนการจดทะเบียนบริษัท กำหนดค่าตอบแทน แก่ผู้ริเริ่มกิจการ หรือผู้ก่อตั้ง ไปจนถึงการกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ
5. เลือกคณะกรรมการบริษัท เพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ
ในวาระการประชุม ควรเลือกคณะกรรมการ เพื่อมาทำหน้าที่แทนผู้ก่อตั้ง และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในนามบริษัท ด้วยการทำหน้าที่ เก็บเงินชำระค่าหุ้น อย่างน้อย 25% ของราคาจริง เมื่อเก็บค่าหุ้นครบแล้ว จะทำการขอจดทะเบียนบริษัท โดยต้องยื่นจดทะเบียน ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่มีการประชุม แต่ถ้าหากเกิดความล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาดังกล่าว จะถือว่าการประชุม เป็นโมฆะ และต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นใหม่อีกครั้ง
6. ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท
- ค่าธรรมเนียม ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ จะดำเนินการจากการคิดจาก เงินทุน จำนวนแสนละ 50 บาท โดยไม่ว่าจะมีเศษเกินมากี่บาท ให้คิดเป็นจำนวนเต็มแสนเท่านั้น ซึ่งการชำระค่าธรรมเนียม เกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท คิดตามทุนการจดทะเบียน แสนละ 500 บาทเช่นกัน แต่ขั้นต่ำในการชำระ ต้องไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
- ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
- ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
7. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท และมอบหนังสือรับรองแล้ว ถือว่าบริษัท ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีสิทธิ และหน้าที่ต่าง ๆ โดยสมบูรณ์ตามที่บริษัทพึงมีทุกประการ
จบไปแล้วกับ ขั้นตอนการ จดทะเบียนบริษัท ที่เรานำมาฝากกัน ขั้นตอนไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงแค่รู้ขั้นตอน ก็ทำให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนบริษัทตามลำดับได้อย่างถูกต้อง หวังว่าบทความนี้ จะให้ความรู้แก่ผู้ที่กำลังจะเปิดธุรกิจเป็นของตัวเอง ไม่มากก็น้อย
สามารถอ่านบทความดี ๆ ได้ที่นี่
หากสนใจ ที่รองแก้วไม้ก๊อก มีคุณสมบัติพิเศษ คือ น้ำหนักเบาใช้งานทนทาน และสามารถป้องกันความร้อนได้ดี นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันการไหลซึมของน้ำได้ สามารถสั่งซื้อ และสอบถามได้ที่ จานรองแก้ว.com
อ้างอิงข้อมูลจาก: amauditgroup.com